วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) ซึ่งร่างขึ้นโดย องค์กรซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองขณะนั้น ระบุไว้ในมาตรา 4 ว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความ  อ่านเพิ่มเติม

สถานการณ์เเละปัญหาการเมืองไทย

เป็นชุดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมือง ซึ่งมีความเห็นต่อต้านและสนับสนุนทักษิณ ชินวัตร อ่านเพิ่มเติม

การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

เป็นองค์การในประเทศไทยที่ตั้งขึ้นภายใต้เจตนารมณ์ของกฎบัตรสหประชาชาติ และได้รับรองความถูกต้องโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550  อ่านเพิ่มเติม

คุณลักษณะของพลเมืองดี

   คุณลักษณะของพลเมืองดีที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น  และช่วยจรรโลงให้สังคมประเทศชาติและโลกพัฒนาก้าวหน้า  มีดังนี้  อ่านเพิ่มเติม

พลเมืองดี

ศรัทธาของเราในพระผู้เป็นเจ้าผลักดันเราให้เป็นพลเมืองที่มีสำนึกรับผิดชอบต่อประเทศชาติ รัฐ และเมืองของเรา ถ้าเรามีภาพใหญ่อยู่ในใจ เราย่อมจำได้ว่าเราทุกคนเป็นบุ  อ่านเพ่มเติม

วัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรมแห่งชาติของไทยเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งสิ่งที่ปัจจุบันถือเป็นวัฒนธรรมไทยเดิมไม่มีอยู่ในรูปแบบนั้นเมื่อกว่าร้อยปีก่อน บ่อเกิดสามารถสืบย้อนไปได้ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัย  อ่านเพิ่มเติม

วัฒนธรรม

วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันแล อ่านเพิ่มเติม

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

สังคมมนุษย์มีลักษณะเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ คือ มีการเปลี่ยนแปลง บางสังคมเปลี่ยนแปลงช้าขณะที่บางสังคมเปลี่ยนเร็ว ในอดีตสังคม  อ่านเพิ่มเติม

ปัญหาทางสังคม

ปัญหาสังคม หมายถึง สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนมากในสังคมและเห็นว่าควรร่วม กันแก้ปัญหานั้นให้ดีขึ้น  อ่านเพิ่มเติม

การจัดระเบียบทางสังคม

การจัดระเบียบทางสังคม หมายถึง กระบวนการทางสังคมที่จัดขึ้นเพื่อควบคุมสมาชิกให้มีความสัมพันธ์กันภายใต้แบบแผนและกฎเกณฑ์เดียวกัน เพื่อให้เกิ  อ่านเพิ่มเติม

โครงสร้างทางสังคม

 โครงสร้างทางสังคม หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีแบบแผนในการปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน โครง  อ่านเพิ่มเติม

การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน

ไทย  สาธารณรัฐฝรั่งเศส
1. ประธานาธิบดี ฌาคส์ ชีรัค
1.1 นายกรัฐมนตรีไทยเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างวันที่ 12-13พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 9 -11 ตุลาคม พ.ศ. 2548

1.2 ประธานาธิบดีพบหารือกับายกรัฐมนตรีรวม 4 ครั้ง คือ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 12พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ในระหว่างการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่8 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เป็นการหารือนอกรอบการประชุม ASEM ครั้งที่ 5 ที่กรุงฮานอย ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ในระหว่างการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ และล่าสุดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ในระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการ (State Visit) ของ ประธานาธิบดีชีรัค ซึ่ง Highlights ได้แก่
(1) การติดตามผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส (Joint Plan of Action)อาทิ การค้า การลงทุน ความร่วมมือไตรภาคี ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การท่องเที่ยว การศึกษาและวัฒนธรรม
(2) ชักชวนฝรั่งเศสมาลงทุนในโครงการ Mega-Projects ของไทย ซึ่งฝรั่งเศสให้ความสนใจโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซธรรมชาติและระบบขนส่งมวลชน
(3) การลงนามในความตกลงและเอกสารต่างๆ จำนวน 12 ฉบับ แบ่งเป็น ความตกลงภาครัฐ 7 ฉบับ และภาคเอกชน 5 ฉบับ


1.3 ประธานาธิบดีจะครบวาระการดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส สมัยที่ 2 ในปี2550 และมีการคาดคะเนว่า ประธานาธิบดีจะไม่ลงสมัครชิงตำแหน่งปธน.สมัยที่ 3เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ และอาจสนับสนุนให้ นายกรัฐมนตรี Dominique de Villepin ซึ่งถือเป็นทายาททางการเมืองลงสมัครแทนเพื่อแข่งขันกับนาย Nicolas Sarkozy รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่จากเหตุการณ์ประท้วงร่างกม.แรงงาน CPE (ซึ่งอนุญาตให้นายจ้างสามารถปลดลูกจ้างอายุต่ำกว่า26 ปีได้ในช่วง 2 ปีแรกของการทำงาน โดยให้ถือเป็นช่วงทดลองงานและไม่ต้องมีการอธิบายหรือแจ้งล่วงหน้าดังเช่นกฎหมายแรงงานทั่วไป) ตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีde Villepin ได้ส่งผลให้คะแนนนิยมในตัว นายกรัฐมนตรี ลดลงอย่างมากและอาจทำให้ ประธานาธิบดีไม่มั่นใจว่าสมควรที่จะให้การสนับสนุนต่อไปหรือไม่


2. ความสัมพันธ์ไทย  ฝรั่งเศสโดยรวม

2.1 แผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส (Joint Plan of Action)
(1) ฝรั่งเศสได้หันมามองไทยด้วยสายตาใหม่ โดยการยกระดับสถานะและให้ความสำคัญแก่ไทยมากขึ้นในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของฝรั่งเศสต่อ ASEAN ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากผลสำเร็จของการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการของ นายกรัฐมนตรีระหว่างวันที่ 12-13 พ.ค.46 อันนำไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแผน 5 ปี (2547-2551) และลงนามโดย รมว.กต.ของทั้งสองประเทศ เมื่อวันที่ 25พ.ค.47
(2) แผนปฏิบัติการฯ ครอบคลุมความร่วมมือในสาขาต่างๆ ทุกสาขา อาทิ ด้านการทหาร เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษาและการต่างประเทศ โดยในปัจจุบัน มีประเด็นที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วกว่าร้อยละ 70
2.4 เทศกาลวัฒนธรรม ฝรั่งเศสได้จัดเทศกาลวัฒนธรรมฝรั่งเศสในไทย ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 3 มิ.ย. -14 ก.ค.47 ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 6-24 มิ.ย.48 และกำหนดจะจัดครั้งที่3 ระหว่างวันที่ 21 มิ.ย.- 8 ก.ค.49 ส่วนไทยกำหนดจะจัดเทศกาลวัฒนธรรมไทยในฝรั่งเศส ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 15 ก.ย.-31 ต.ค.49 ที่กรุงปารีสและเมืองลียง โดยได้ขอให้งานดังกล่าวอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของ ประธานาธิบดีชีรัค ซึ่งขณะนี้ ยังรอผลการพิจารณาของฝ่ายฝรั่งเศส

2.5 ความร่วมมือด้านแฟชั่น (1) มีการลงนามใน MOU ว่าด้วยความร่วมมือด้านแฟชั่นไทย-ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
(2) ไทยกำลังพิจารณาจัดตั้ง Thailand Fashion House ที่กรุงปารีส

2.6 ความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้มีการขยายมูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างกันเป็น 2 เท่าภายใน 3 ปี (ปี 2551) โดยได้ตกลงกันให้มีการจัดตั้งคณะทำงานสำหรับยกร่าง Roadmap ของแผนปฏิบัติการด้านเศรษฐกิจและการค้า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว (มีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนพ.ค.49) และให้มีการเพิ่มจำนวนวิสาหกิจฝรั่งเศส ในไทยจากจำนวน 350 บริษัท เป็นจำนวน 750 บริษัท ภายในระยะเวลา 3 ปี

2.7 ตัวเลขการค้า 2548 รวม 3,166.6 ล้าน USD ไทยขาดดุล 563.4 ล้าน USD
2.8 ฝรั่งเศสลงทุนในไทย 2548 14 โครงการ มูลค่ารวม 410 ล้านบาท                
2.9 ความร่วมมือไตรภาคี มีการลงนามในข้อตกลงจัดตั้งสำนักงานองค์กรเพื่อการพัฒนาของรัฐบาลฝรั่งเศส (Agence Française de Développement- AFD) ในไทย เมื่อวันที่ 18 ก.พ.49 โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะให้มีความร่วมมือในลาวและมาดากัสการ์ก่อนเป็นอันดับแรก
2.10 UNSG ฝรั่งเศสรับที่จะพิจารณาผู้สมัครของไทยอย่างจริงจัง (seriouslyconsider)

การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ

การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและปกป้องผลประโยชน์ของตนและเป็นการระงับกรณีความขัดแย้งที่มาจากการแข่งขันทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ  การประสานประโยชน์มีความสำคัญทั้งทางด้านการเมือง การทหาร การค้า และการทูต อย่างไรก็ตามแม้จะมีการประสานประโยชน์  แต่ก็ยังมีการแข่งขัน  ความขัดแย้ง และสงครามอยู่ ดังนั้นสังคมโลกจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้การสนับสนุน และปรับปรุงวิธีการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

การประสานประโยชน์โดยการรวมกลุ่มของประเทศต่างๆ

การรวมกลุ่มของประเทศต่าง ๆ นั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและประสานผลประโยชน์ระหว่างประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นการถ่วงดุลอำนาจให้ประเทศต่าง ๆ มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน

1.  ปัจจัยของการรวมกลุ่มของประเทศต่าง ๆ ปัจจัยในการรวมกลุ่มมีหลายประการ ดังนี้
     1)  สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เช่น มีพรมแดนติดต่อกัน
     2)  ระบบเศรษฐกิจที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน  
     3)  ระบบการเมืองการปกครองที่คล้ายคลึงกันจะรวมกลุ่มเพื่อประสานประโยชน์ร่วมกัน
     4)  ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความก้าวหน้าทางสังคม การศึกษา วัฒนธรรมในแต่ละประเทศให้เท่าเทียมกัน

2.  รูปแบบการรวมกลุ่มระหว่างประเทศ

 1)  การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ มี 4 ระดับ คือ

(1) เขตการค้าเสรี (Free Trade Area) หรือเขตปลอดภาษี มีการยกเว้นการเก็บภาษีศุลกากรให้แก่ประเทศสมาชิกในกลุ่ม แต่จะเก็บภาษีศุลกากรเท่าใดก็ได้กับประเทศนอกกลุ่ม ได้แก่ นาฟตา (NAFTA) และ อาฟตา (AFTA)

(2) สหภาพศุลกากร (Custom Union) ยกเว้นการเก็บภาษีศุลกากรและข้อจำกัดทางการค้าให้แก่ประเทศสมาชิกในกลุ่ม และแต่ละประเทศในกลุ่มต้องกำหนดอัตราภาษีศุลกากรกับประเทศนอกกลุ่มในอัตราเดียวกัน ในขณะนี้ยังไม่มีการรวมกลุ่มประเทศในระดับนี้  เช่น ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC)

(3)  ตลาดร่วม (Common Market) การควบคุมสินค้าเข้าและสินค้าออกจะถูกยกเลิกให้แก่ประเทศสมาชิก และสามารถเคลื่อนไหวโยกย้ายปัจจัยการผลิตในประเทศสมาชิกได้อย่างเสรี เช่น ประชาคมยุโรป (EC)

(4) สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union) นอกจากมีลักษณะเหมือนตลาดร่วมแล้วประเทศสมาชิกยังต้องมีนโยบายทางเศรษฐกิจ และสังคมอย่างเดียวกัน เช่น กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน นโยบายภาษีอากรอย่างเดียวกัน ร่วมกันตั้งองค์กรกลางขึ้นมาเป็นผู้คอยกำหนดนโยบายและวางแผนเศรษฐกิจให้ประเทศสมาชิกยึดถือ   เช่นสหภาพยุโรป (EU)  
  
2) การรวมกลุ่มการเมืองระหว่างประเทศ

       ในอดีตการรวมกลุ่มความร่วมมือทางการเมืองระหว่างประเทศเป็นการรวมกลุ่มเพื่อรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงร่วมกัน เนื่องจากหวาดกลัวภัยคอมมิวนิสต์ ภายหลังสงครามเย็นสิ้นสุดจึงเปลี่ยนไปเป็นความร่วมมือในการประสานผลประโยชน์ในเขตภูมิภาค เช่น องค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันในเอเชียอาคเนย์ (SEATO) ซึ่งพัฒนาไปเป็นสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือสมาคมอาเซียน (ASEAN)  องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (NATO)  เป็นต้น